การบริหารจัดการขยะ ตามหลัก 3Rs 

โพสต์ข้อมูลโดย : แก้วตา ประยูรโต

การจัดการ “ของเสีย” ตามหลัก 3Rs

     หมายถึง การจัดการของเสียที่ให้ความสําคัญในการลดการเกิดของ เสียให้เหลือน้อยที่สุดเป็นลําดับแรก โดยมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมา เมื่อเกิดของเสียแล้วต้องพยายามหาแนวทางการนํากลับไปใช้ซ้าหรือใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด โดยพิจารณาถึงศักยภาพ การใช้ประโยชน์ของของเสียแต่ละประเภทและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เหลือของเสียที่จะต้องบําบัดหรือกําจัด ในปริมาณน้อยที่สุด โดยเลือกใช้วิธีการกําจัดของเสียเป็นวิธีสุดท้าย

Reduce ลดการใช้

1.1 ปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะ (Refuse) ปฏิเสธการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย รวมทั้งขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก หรือขยะมีพิษอื่น ๆหลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มหลายชั้น หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อสินค้าชนิดใช้ครั้ง เดียว หรือผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานต่ําไม่สนับสนุนร้านค้าที่กักเก็บและจําหน่วย สินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือย และไม่มีระบบเรียกคืนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว กรณีการ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประจําบ้านที่ใช้เป็นประจํา เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ํายาล้างจาน ให้ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดบรรจุใหญ่กว่า เนื่องจากใช้บรรจุภัณฑ์น้อยกว่าเมื่อ เปรียบเทียบกับหน่วยน้ําหนักของผลิตภัณฑ์ลดหรืองดการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย โดย เลือกใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการ

1.2 เลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์สู่ผู้ผลิตได้(Return) เลือกซื้อสินค้าหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีระบบมัดจํา – คืนเงิน เช่น ขวดเครื่องดื่ม ประเภทต่าง ๆ เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถนํากลับไปรีไซเคิลได้ หรือมี ส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิล เช่น ถุงช๊อปปิ้ง โปสการ์ด เลือกซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ผลิตเรียกคืนซากบรรจุภัณฑ์ หลังจากการบริโภคของประชาชน

Reuse  ใช้ซ้ำเป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การใช้ซ้ําเป็นการที่เรานําสิ่งต่างๆ ที่ใช้งานไปแล้ว และยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ อีก เป็นการลดการใช้ทรัพยากรใหม่ รวมทั้งเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างของการใช้ซ้ํา เช่น 

2.1 เลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้ใช้ได้มากกว่า 1 ครั้ง เช่น แบตเตอรี่ประจุไฟฟ้าใหม่ได้

2.2 ซ่อมแซมเครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ (Repair) ให้สามารถใช้ประโยชน์ ต่อไปได้อีก

2.3 บํารุงรักษาเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถใช้งานได้คงทนและยาวนานขึ้น

2.4 นําบรรจุภัณฑ์และวัสดุเหลือใช้อื่นๆ กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น การใช้ซ้ําถุงพลาสติก ถุงผ้า ถุง กระดาษ และกล่องกระดาษ การใช้ซ้ําขวดน้ําดื่ม เหยือกนม และกล่องใส่ขนม

2.5 ยืม เช่า หรือใช้สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บ่อยครั้งร่วมกัน เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร

2.6 บริจาคหรือขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น หนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือใช้สอยอื่นๆ

2.7 นําสิ่งของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนํายางรถยนต์มาทําเก้าอี้ การนําขวดพลาสติกมา ดัดแปลงเป็นที่ใส่ของ แจกัน การนําเศษผ้ามาทําเปลนอน เป็นต้น

2.8 ใช้ซ้ําวัสดุสํานักงาน เช่น การใช้กระดาษทั้งสองหน้า เป็นต้น

Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล เป็นการนําวัสดุต่างๆ อย่างเช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ฯลฯ มาแปรรูปโดยกรรมวิธีต่างๆ เพื่อนํากลับมาใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากจะ เป็นการลดปริมาณขยะมูลฝอยแล้ว ยังเป็นการลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่ เกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถทําได้โดย

3.1 คัดแยกขยะรีไซเคิลแต่ละประเภท ได้แก่ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ เพื่อให้ง่ายต่อการนําไปรีไซเคิล

3.2 นําไปขาย/บริจาค/นําเข้าธนาคารขยะ/กิจกรรมขยะแลกไข่ เพื่อเข้าสู่ วงจรของการนํากลับไปรีไซเคิล





คำอธิบายภาพ:

คำอธิบายภาพ:

คำอธิบายภาพ:

คำอธิบายภาพ:

คำอธิบายภาพ: